เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI, Artificial Intelligence)

เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI, Artificial Intelligence) ได้มีการกล่าวถึงมาตั้งแต่ปี 1950  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) เป็นการสื่อสารแบบไร้สายด้วยการใช้คลื่นวิทยุ  โดยจะมีการติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) บนชิ้นงานหรือสิ่งของต่าง ๆ   ทันทีที่อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ผ่านเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  ข้อมูลต่าง ๆ ที่มีการบันทึกไว้ในอาร์เอฟไอดีแท็ก (RFID Tag)  ก็จะถูกส่งเข้าสู่ระบบโดยอัตโนมัติ 

ส่วนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI, Artificial Intelligent)  เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เหมือนคนหรือใกล้เคียง  โดยเทคโนโลยีดังกล่าวจะรวมถึงการเรียนรู้  การวิเคราะห์ และแก้ปัญหา  เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI, Artificial Intelligent) มีการนำอัลกอลิธัมต่าง ๆ มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ  เพื่อการทำคาดการณ์อนาคต  และทำการตัดสินใจ ตัวอย่างเช่น การนำเทคโนโลยี AI ไปใส่ไว้ในกล้อง เพื่อทำการคาดการณ์ลักษณะการเดิน หรือการเคลื่อนไหวของลูกค้าในร้าน  หรือการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI, Artificial Intelligent) มาทำการคาดการณ์พฤติกรรมการซื้อสินค้าของลูกค้าเป็นต้น

การทำงานร่วมกันระหว่างเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) และปัญญาประดิษฐ์ (AI, Artificial Intelligence)

เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) เกี่ยวข้องโดยตรงกับความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล  และความเร็วในการระบุตัวตนของสิ่งต่าง ๆ  ในขณะที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI, Artificial Intelligence) จะเกี่ยวข้องกับความสามารถในการคาดการณ์ และการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ตามข้อมูลที่ได้รับ   เมื่อมีการนำเทคโนโลยีทั้งสองมาใช้งานร่วมกัน   จะพบว่าเทคโนโลยีทั้งสองจะเป็นประโยชน์ซึ่งกันและกัน   ตัวอย่าง เช่น

 เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology)เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI, Artificial Intelligence)
ภาคการผลิต การติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) บนชิ้นงานการผลิต  ผู้ผลิตสามารถที่จะรับรู้ได้ว่า กระบวนการผลิตแต่ละขั้นโดยอัตโนมัติ  โดยไม่ต้องเสียเวลาให้เจ้าหน้าที่ที่หน้างานทำการอ่านข้อมูล   เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI, Artificial Intelligence) จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ  เพื่อที่จะระบุขั้นตอนการทำงานที่เป็นคอขวด และทำการวางแผนเพื่อจัดสรรทรัพยากรการผลิตให้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาคการจัดส่ง การติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่พาเลท หรือคอนเทนเนอร์การขนส่ง (Shipping container) ทำให้เราสามารถติดตาม  และคอยตรวจสอบการขนส่งเหล่านั้นได้อย่างแม่นยำ  ลดความผิดพลาดในการขนส่งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI, Artificial Intelligence)  จะทำการวิเคราะห์ที่ เพื่อกำหนดเส้นทางในการจัดส่งสินค้า ด้วยข้อมูลจากการอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก เป็นต้น  
ภาคการขนถ่ายวัสดุ (Material Handling)   การติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) บนอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่ง เช่น รถ Forklift เป็นต้น  ช่วยทำให้ ทราบถึงตำแหน่งของอุปกรณ์เหล่านั้น  และสถานะว่าอุปกรณ์เหล่านั้นว่ามีการใช้งานอยู่หรือไม่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI, Artificial Intelligence)  จะทำการวิเคราะห์เพื่อวางแผนการใช้อุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  และช่วยนำข้อมูลไปวางแผนเพื่อการบำรุงรักษา

โดยสรุป เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ต้องการข้อมูลเพื่อช่วยวิเคราะห์ปัญหา  และการคาดการณ์ต่าง ๆ  ในขณะที่เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการเก็บข้อมูลที่มีความแม่นยำสูง   และสามารถส่งข้อมูลต่าง ๆ ไปที่ระบบต่าง ๆ อย่างถูกต้อง ดังนั้นการนำเทคโนโลยีทั้งสองมาใช้งานร่วมกันทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการการทำงานเป็นอย่างมาก  เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สามารถวางแผนและคาดการณ์ได้แม่นยำเพิ่มมากขึ้น

ความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยี RTLS และ RFID

เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีในการติดตามหรือค้นหาสิ่งต่าง ๆ เช่น บุคคล หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ สองเทคโนโลยีที่มีการกล่าวถึงเป็นประจำคือ  RTLS (Real Time Location Tracking) และ RFID (Radio Frequency Identification) และในหลายครั้งที่มีกล่าวถึงเทคโนโลยีทั้งสองสลับกัน  เนื่องจากเทคโนโลยีทั้งสองมีการใช้ในการติดตามหรือระบุตัวตนของสิ่งต่าง ๆ เหมือนกัน อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีทั้งสองก็มีความแตกต่างกันในหลายประการ

เทคโนโลยี RTLS เป็นการนำเทคโนโลยี Bluetooth, Ultra-wideband (UWB), หรือ Zigbee มาใช้ในการติดตาม  โดยวัตถุหรือสิ่งของที่จะติดตามต้อง Tag, iBeacon หรืออุปกรณ์ใดใด เช่น โทรศัพท์มือถือที่มี Bluetooth เป็นต้น โดย Tag ดังกล่าวจะส่งข้อมูลไปที่เครื่องรับ นอกจากนั้นในพื้นที่ที่ต้องการติดตามก็มีการติดเครื่องรับเพื่อรับสัญญาณจาก Tag ซึ่งอาจจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป  เช่น Anchor, Receiver เป็นต้น  นอกเหนือจากองค์ประกอบสองส่วนข้างต้น  ก็จะมีส่วนของซอฟท์แวร์ในการประมวลผลเพื่อระบุตำแหน่ง    ทันทีที่ Tag ส่งค่าไปที่เครื่องรับ  ซอฟท์แวร์ที่ต่อกับเครื่องรับจะทำการคำนวนค่าที่ได้รับ  และระบุตำแหน่งของ Tag  โดยปกติซอฟท์แวร์จะไปเชื่อมต่อกับแผนที่ของบริเวณที่ต้องการติดตาม  เพื่อที่จะให้สามารถแปลผลได้ว่า  Tag ดังกล่าว  อยู่ส่วนไหนของแผนที่  เช่นห้องประชุม หรือห้องอาหารเป็นต้น  เทคโนโลยีดังกล่าวตำแหน่งของวัตถุดังกล่าวจะคำนวนด้วยซอฟท์แวร์

ในส่วนของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)  ก็จะมีอุปกรณ์ที่ใกล้เคียงกัน  คือวัตถุหรือสิ่งของที่ต้องการจะติดตามก็จะต้องมี Tag หากเป็น Passive RFID ก็จะเป็น Tag แบบไม่มีแบตตอรี่  ในกรณีที่เป็น Active RFID ก็จะเป็น Tag แบบมีแบตตอรี่  และก็จะมีเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ที่คอยรับค่าจาก RFID Tag  โดยเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี  (RFID Reader) จะติดตั้งในจุดที่ต้องการจะอ่าน RFID Tag เช่นประตูเข้าออก เป็นต้น   ส่วนสุดท้ายคือส่วนซอฟท์แวร์  ซึ่งซอฟท์แวร์ของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) ไม่สามารถที่จะระบุตำแหน่งของ RFID Tag ได้   เพียงแค่สามารถบอกได้ว่า  ถูกอ่านด้วยเครื่องอ่าน (RFID Reader) ดังกล่าวหรือยัง  ตัวอย่างเช่น  ในกรณีที่ RFID Tag ถูกอ่านด้วยเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ที่ห้องประชุมเวลา 9.00   ซอฟท์แวร์สามารถที่จะบอกได้ว่า  RFID Tag อยู่บริเวณห้องประชุมในเวลาดังกล่าว  หากมีการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์เพิ่มเติม  ก็จะสามารถบอกได้ว่า  RFID Tag ดังกล่าวเข้าหรือออกห้องประชุม  แต่ไม่สามารถที่จะระบุได้ว่า  อยู่ในบริเวณไหนของห้องประชุม      

เทคโนโลยีทั้งสองต่างก็มีการนำมาใช้เพื่อติดตามวัตถุหรือบุคคลทั้งสิ้น  อย่างไรก็ตามการจะเลือกเทคโนโลยีใดนั้นขึ้นอยู่กับความสำคัญของสิ่งของที่เราทำการติดตาม  หากเราต้องการรู้ถึงตำแหน่งของวัตถุดังกล่าวในลักษณะ Real time และต้องการทราบถึงตำแหน่งของวัตถุดังกล่าว  เทคโนโลยี RTLS ก็จะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม  ในทางตรงกันข้ามหากต้องการทราบถึงการเคลื่อนไหว  ว่าวัตถุดังกล่าวผ่านจุดใดมาบ้าง  โดยไม่จำเป็นต้องรู้ตำแหน่งที่แน่นอนในลักษณะ Real time เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) ก็จะเป็นทางเลือกได้

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) และ IOT (Internet of Things)

IOT (Internet of Things) หมายถึงการที่อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่อกันผ่านระบบอินเตอร์เนทได้  เหมือนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน  เช่น คอมพิวเตอร์  หรือโทรศัพท์มือถือเป็นต้น  ตลอดเวลาที่ผ่านมามีการนำเทคโนโลยี IOT ไปใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท  และมีการนำไปใช้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ   มีการประมาณการณ์ว่า  ปลายปี 2020 จะมีอุปกรณ์ IOT มากถึง 31,000 ล้านชิ้น  ในขณะเดียวกัน เครือข่ายอินเตอร์เนตก็มีการใช้งานแพร่พลายมากขึ้น  พร้อมทั้งอุปกรณ์ wifi ทั้งหลายก็จะมีราคาที่ถูกลง  ปัจจัยเหล่านี้มีส่วนส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยี IOT มาใช้มากขึ้น

ปัจจุบันอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์สามารถต่อเชื่อมเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยี IOT ได้อย่างง่ายดาย  เพียงเพราะว่าอุปกรณ์เหล่านี้มีแหล่งจ่ายไฟในตัว  ซึ่งอาจจะเป็นแบตเตอรรี่ในตัว  หรือแหล่งจ่ายไฟบ้านตามปกติ   ทันทีที่มีการจ่ายไฟให้แก่อุปกรณ์เหล่านี้  อุปกรณ์เหล่านี้สามารถที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เนทได้  ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สาย  หรือการเชื่อมต่อผ่านสายเคเบิ้ล  และสามารถเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้าง IOT ได้อย่างง่ายดาย

จากที่กล่าวข้างต้น  IOT หมายถึงการทำให้อุปกรณ์ทุกอย่างสามารถที่จะเชื่อมต่อกันผ่านระบบอินเตอร์เนทได้   ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ไม่มีแหล่งจ่ายไฟในตัว  เช่น เฟอร์นิเจอร์  ขวดน้ำ หนังสือ  เสื้อผ้า หรือยา เป็นต้น  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) มีบทบาทอย่างยิ่งที่จะทำให้อุปกรณ์เหล่านี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบ IOT  ตัวอย่างเช่น  การทำให้ตู้เก็บยาสามารถแจ้งเตือนผ่านบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ด้วยตัวเองว่า  มียาใดบ้างในตู้ที่ใกล้หมดอายุ  เป็นต้น  

วัตถุประสงค์หลักของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) คือ  การระบุตัวตนของสิ่งต่าง ๆ  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology)  ประกอบด้วย อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  และระบบซอฟท์แวร์  เพียงแค่นำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ติดบนอุปกรณ์ต่าง ๆ เมื่ออุปกรณ์เหล่านี้ถูกอ่านด้วยเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดีสามารถเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เนต  และสามารถกำหนดหมายเลข IP ให้แก่ระบบได้   ดังนั้นเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดีก็สามารถส่งข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เชื่อมต่ออุปกรณ์อื่น ๆ เข้ากับระบบอินเตอร์เนต   ตัวอย่างเช่นตู้ยาอัจฉริยะที่กล่าวมาข้างต้น  ในกรณีที่ฉลากยาที่เก็บในตู้มีการติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ในตู้ยาสามารถที่อ่านฉลากยาเหล่านั้นได้  และระบบซอฟท์แวร์ก็จะส่วนประมวลผลว่า ยาใดหมดอายุ เป็นต้น 

ด้วยจุดเด่นของระบบอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) ที่สามารถตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ในรูปแบบ real time  และทำงานอัตโนมัติ  โดยไม่ต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ในการเก็บข้อมูล  ทำให้เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) มีบทบาทสำคัญในระบบ IOT